11 พฤศจิกายน 2553

ขก.เยียวยาประชาชนที่เสียหายจากภัยน้ำท่วม


ชาวบ้านท่าพะเนาว์ ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น รับมอบถุงยังชีพ จากนายอนุกูล  

ตังคณานุกูลชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น จำนวน 200 ถุงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม  พร้อมสั่งการให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน ให้ช่วยกันกระจายข่าว ทำความเข้าใจกับชาวบ้านเรื่องเงินชดเชยจากภัยน้ำท่วมของรัฐบาล และให้เตรียมแผนฟื้นฟูหมู่บ้านหลังน้ำลด ซึ่งขณะนี้ที่บ้านท่าพะเนาว์ ยังคงมีน้ำท่วมอยู่  โดยพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังมากที่สุด คือ ไร่นาและบ้านเรือนของประชาชนที่ติดลำน้ำชี ซึ่งมีระดับน้ำท่วมสูงเกือบ 2 เมตร ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องรอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ เท่านั้น

 

รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ยังไม่มีหมู่บ้านใดในจังหวัดขอนแก่นได้รับเงินชดเชยผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากรัฐบาล  เนื่องจากอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลความเสียหาย ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนรออีกระยะ แล้วจังหวัด

จะรีบดำเนินการส่งมอบเงินแก่ประชาชนที่ได้รับความเสียหายอย่างเร่งด่วนที่สุด

 

ส่วนงบประมาณที่รัฐบาลจะส่งมอบให้แต่ละจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม 100-200 ล้านบาทนั้น จังหวัดขอนแก่น จะนำไปซ่อมบำรุงถนนในหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมกัดเซาะเสียหาย และขุดลอกดินให้เป็นทางน้ำไหลในพื้นที่ที่น้ำยังคงท่วมอยู่ เพื่อให้น้ำที่ท่วมขังในหมู่บ้านระบาบลงสู่ลำน้ำที่ใกล้เคียงได้เร็วขึ้น


ชาวบ้านโต้น ตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น รับมอบถุงยังชีพจาก

นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น  จำนวน 2000ถุง   สถานการณ์อุทกภัยที่บ้านโต้นขณะนี้ น้ำยังคงท่วมขังอยู่ ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างลำบาก ไร่นา บ้านเรือนของประชาชนเสียหายเกือบทั้งหมด

 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 จังหวัดขอนแก่น ได้ประสานไปยังกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคม อบต.แห่งประเทศไทย ซึ่งมีทั้งหมด 7,100 แห่ง ทั่วประเทศ ให้ใช้เงินที่มีอยู่ในกองทุนกว่า 3,000 ล้านบาท จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพจิตประชาชนในพื้นที่น้ำท่วม

 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ทำงานเชิงรุกในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อป้องกันโรคติดต่อหลังน้ำท่วม เช่น ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู ภาวะซึมเศร้า โดยเน้นกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง คนพิการและผู้สูงอายุ นำร่องในจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธุ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น