19 พฤษภาคม 2553

ทส.ใช้ จ.ขอนแก่นเป็นสถานที่ร่างแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่ง ชาติ

 

โฮมทีวี- สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2551 2555 ที่ จ.ขอนแก่น

 

ที่โรงแรม พูลแมน ราชาขอนแก่น นางสาวอาระยา นันทโพธิเดช รองเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำ (ร่าง)แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ พ.ส.2553 2563  ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพิธีสารเกียวโต จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2551 2555 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 และได้จัดทำแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2553 2563  เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสร้างความพร้อมให้กับทุกภาคส่วนในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนรวมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บนพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนและผลประโยชน์ร่วมกัน  และเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาและรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในระยะเวลา 10 ปี บนพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

 

รองเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบอกว่า  ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญระดับโลก ซึ่งนานาประเทศจำเป็นจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหา สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลก และคาดการณ์ถึงภัยคุกคามที่อาจจะเกิดเช่นการละลายของภูเขาน้ำแข็งและธารน้ำแข็ง การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในมหาสมุทร การก่อตัวรุนแรงของภัยธรรมชาติ เป็นต้น  

 

สำหรับ  ยุทธศาสตร์แห่งชาติเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2551 2555 เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือ ประกอบไปด้วย 6 ยุทธศาสตร์หลัก คือ

1.สร้างความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับมือและลดความล่อแหลมต่อผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ

2.สนุบสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซบนพื้นฐานของการพัฒนาที่นยั่งยืน

3.สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

4.สร้างควมตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

5.เพิ่มศักยภาพของบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

6.พัฒนาการดำเนินงานในกรอบความร่วมมือกับต่างประเทศ  เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความพร้อมให้กับประเทศในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบจากาารเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยดำเนินการบนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

 

ชรินทร์ เซียวศิริกุล  ข่าวโฮมทีวี รายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น