หลังจากที่ทุกฝ่ายในจังหวัดขอนแก่น อาทิ
ส่วนราชการ และนักวิชาการในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ร่วมมือกันศึกษาระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT เพื่อนำมาปรับใช้ในจังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมา ล่าสุดศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดสัมมนาชี้แจงผลการศึกษาดังกล่าว เพื่อทำความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้และส่วนเสีย
ในสังคมขอนแก่น อาทิ ประชาชนทั่วไป
ผู้ประกอบการรถสองแถว เจ้าหน้าที่ขนส่งจังหวัด นักวิชาการ
และส่วนราชการจังหวัด
โดยมีนักวิชาการบรรยายผลการศึกษา ซึ่งผศ.ดร.พนกฤษณ์ คลังบุญครอง
รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า
สิ่งที่ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์จากการใช้ BRT ในเมืองขอนแก่น คือ สะดวก รวดเร็ว ไร้มลพิษ ลดปัญหารถติด
ลดจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนน
แต่สำหรับข้อเสีย
ตนยอมรับว่าโครงการดังกล่าวหากสร้างจริง
ต้องใช้งบประมาณสูง มากกว่า 1,200 ล้านบาท
จึงต้องอาศัยภาคเอกชนร่วมลงทุนเพื่อให้ระบบนี้เกิดขึ้นจริงในอนาคต อีกทั้งจะส่งผลกระทบต่อจำนวนรถสองแถว ทำให้มีจำนวนรถสองแถวลดลง แต่จะไม่กระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการรถสองแถวแน่นอน
ทั้งนี้ผศ.ดร.พนกฤษณ์ คลังบุญครอง
กล่าวถึงความคืบหน้าการออกแบบสถานีจอดแล้วจร สำหรับที่นั่งรอผู้โดยสารรถ BRT ว่าทางศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน ออกแบบให้สถานีมีความทันสมัย สวยงาม สะอาด
และมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการ
รวมทั้งเปิดพื้นที่ใกล้ๆสถานีเพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าได้จำหน่ายสินค้า
นอกจากนี้
ด้านตัวแทนผู้ประกอบการรถสองแถวในจังหวัดขอนแก่นและประชาชนทั่วไปได้เสนอแนะถึงผลดีและผลเสียโครงการดังกล่าวอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น