27 ตุลาคม 2553

ค่ายการฝึกพูดเด็กปากแหว่งพาดานโหว่

ค่ายการฝึกพูดเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ตามรูปแบบชุมชน ซึ่งจัดขึ้นตามโครงการยิ้มสวยเสียงใส  โดยคลินิกฝึกพูด  ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ร่วมกับ ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของทางศีรษะและใบหน้า  เพื่อฝึกการพูดให้ผู้ป่วย  และฝึกผู้ช่วยฝึกพูด รวมถึงผู้ปกครองซึ่งต้องทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเด็กให้ฝึกพูดที่บ้าน

   

งานนี้มีเด็กที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่และครอบครัว จำนวน 16 ครอบครัวเข้าร่วมโครงการ  ระหว่างวันที่ 27-29 ตุลาคม 2553  ที่อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนชะนี อนุสรณ์ โรงพยาบาลศรีนรินทร์  

 

ภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่  เป็นความพิการแต่กำเนิด เกิดขึ้นกับเด็กแต่แรกเกิด ซึ่งมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของเด็ก บิดามารดา-ผู้ปกครอง  ซึ่งความพิการทางร่างกายที่เห็นเด่นชัดคือ รูปร่างและเค้าโครงของใบหน้า การพูดไม่ชัด ภาวะแทรกซ้อนหูชั้นกลางอักเสบ การได้ยิน ระบบการกลืนอาหาร ปัญหาเกี่ยวกับฟัน การสบฟัน การเจริญเติบโตช้า

 

รศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี   นักแก้ไขการพูด  มูลนิธิตะวันฉาย  กล่าวว่า  ภาคอีสาน   เมื่อปี 2536 พบผู้ป่วยมากถึง   2.5 รายต่อเด็กแรกเกิด 1,000 ราย  ถือเป็นสถิติสูงสุดในประเทศไทยและสูงที่สุดในโลก  เฉลี่ยแต่ละปี จะพบเด็กแรกเกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีภาวะปากแหว่ง-เพดานโหว่  อัตราสูงถึง 800 รายต่อปี


ค่ายการฝึกพูดเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ตามรูปแบบชุมชน  จะทำให้ผู้ป่วยพูดชัดขึ้น  รวมถึงผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ในชุมชน  สามารถช่วยเหลือในการฝึกการพูดของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น