07 ตุลาคม 2553

สภาฯ ลงมิติให้มีบัตรประชาชนตั้งแต่อายุ 1 ปี

หลังจากมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร   มติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ด้วยมติ 222 ต่อ 81 โดยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา พิจารณาจำนวน 36 คน ทั้งนี้ ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว   การแก้ไขกฎเกณฑ์การมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่   โดยขยายอายุให้คนไทยทุกคน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตั้งแต่ 1 ปี นับแต่วันเกิด หรือ 60 วัน นับแต่วันได้สัญชาติไทย  อ้างว่า  เพื่อให้ผู้มีสัญชาติไทยทุกคนต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตั้งแต่เกิด และ กำหนดให้ยกเว้นการมีบัตรเฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์  รวมทั้งตัดเงื่อนไขการมีชื่อในทะเบียนบ้านออก เนื่องจากเป็นเพียงวิธีการพิสูจน์ความเป็นผู้มีสัญชาติไทย และการกำหนดเงื่อนไขอันจะเป็นผลให้ผู้มีสัญชาติไทยไม่อาจมีบัตรได้ ย่อมไม่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้มีสัญชาติไทยทุกคนต้องมีบัตร

           นอกจากนี้ ยังได้ให้เพิ่มข้อความไว้ว่า บัตรประจำตัวประชาชนและให้ใช้บัตรดังกล่าวได้นับแต่วันออกบัตร และมีอายุ 10 ปี  นับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตร   และมีหน่วยความจำ เพื่อบันทึกข้อมูลอื่นของผู้ถือบัตรด้วย   แต่ข้อมูลที่บันทึกไว้ในหน่วยความจำดังกล่าว   ไม่สามารถเปิดเผยต่อบุคคลหรือหน่วยงาน   ซึ่งไม่ใช่เป็นผู้จัดทำ หรือรวบรวมข้อมูลนั้น ๆ ไว้ เว้นแต่เป็นข้อมูลทั่วไป ที่ปรากฏอยู่บนบัตร หรือเป็นการเปิดเผยต่อหน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องทราบข้อมูลนั้นเท่าที่จำเป็น   เพื่อเป็นประโยชน์ของผู้ถือบัตร และระบุระยะเวลาการบังคับใช้ในวาระเริ่มแรก แต่ไม่เกิน 2 ปี นับแต่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ บังคับใช้    สำหรับการขอมี บัตรใหม่ของผู้มีอายุไม่ถึง 15 ปี ผู้ปกครองต้องไปยืนยันและดูแลการทำบัตร ทั้งนี้ หากครบระยะเวลาการขอมีบัตร แต่ยังไม่ยื่นขอมีบัตร มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

           อย่างไรก็ตาม มีประเด็นวิจารณ์ว่าหากให้เด็ก 1 ขวบทำบัตรประชาชน อาจไม่สะดวกเพราะผู้ปกครองก็ต้องไปรับรองอยู่ดี และหน้าตาเด็กก็มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการใช้สูติบัตรแบบเดิมน่าจะเหมาะกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น