โฮมทีวี-นายแพทย์ทวี ตั้งเสรี ผอ.รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เปิดเผยว่า ในประเทศไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายลดลง 3,500 คนต่อปี ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมากหากเทียบกับประเทศในแถบเอเชีย อย่างเกาหลีและญี่ปุ่น โดยสาเหตุการฆ่าตัวตายส่วนใหญ่เกิดจากชีวิตที่มีปัญหารุมเร้าและหาทางออกปัญหาไม่ได้ จึงปลิดชีพตน
นายแพทย์ทวี กล่าวอีกว่า อัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทยหากเทียบกับประเทศอื่นๆในแถบเอเชียจะพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายที่ต่ำ จากสถิติการฆ่าตัวตายปี 2552 เป็นต้นมา ของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายของประเทศไทยอยู่ที่ 5.9 ต่อแสนคน หรือ 3,500 คนต่อปี ซึ่งประเทศไทยเคยประสบปัญหวิกฤติประชากรฆ่าตัวตายมากที่สุดที่ปี 2540 โดยอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 8.2 คนต่อแสนคน ในปีนั้นสาเหตุที่มีคนฆ่าตัวตายเยอะเพราะว่า มีคนล้มละลายจากพิษเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความเครียดจัดและฆ่าตัวตาย
“สาเหตุหลักๆในปัจจุบันที่คนฆ่าตัวตายกัน อยู่ที่เรื่องภาวะจิตใจไม่แข็งแรง อ่อนไหวง่าย และทนรับสภาพกดดัน ความผิดหวังไม่ไหว ดังจะเห็นได้จากข่าวต่างๆ เช่น ชาวเฮติรายหนึ่ง ซึ่งเป็นแฟนบอลของทีมชาติบราซิล ตัดสินใจดับชีพตนหลังจากทีมชาติที่ตัวเองชื่นชอบตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก2010 และอีกกรณีหนึ่งในประเทศไทยเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 2 วัยเพียง 6 ขวบ เสียชีวิตด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใช้เชือกผูกคอกับกิ่งไม้เลียนแบบละครทีวี
นายแพทย์ทวียัง ย้ำว่า ความเข้มแข็งของจิตใจในปัจจุบันเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ กระทั่งผู้สูงอายุ เสียงต่อการฆ่าตัวตายทั้งนั้น ซึ่งสภาพแวดล้อมคนใกล้ชิดมีส่วนสำคัญที่ทำให้คนที่อยากฆ่าตัวตาย กลับตัวกลับใจใหม่ไม่ปลิดชีพตน ซึ่งทุกคนต้องดูแลและพยายามเข้าใจกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น