โฮมทีวี-ทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำอีสาน ซึ่งกำลังกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่กำลังจะสูญหาย
ในงานแถลงข่าวงานนักวิจัยพบสื่อสารมวลชน ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการนำเสนอโครงการวิจัยการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำอีสาน โดยทีมนักวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลวุฒิ พรหมสาขา ณ สกลนคร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนสิทธิ์ จันทะรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วาริน บุญาพุทธิพงศ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์สมหญิง พงศ์พิมล
ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่ศึกษาเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำอีสาน ที่บ้านหัวบึง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเดิมชาวบ้านที่นี่ยึดอาชีพมีปั้นตุ่มน้ำขาย โดยปั้นเป็นทรงกลม ไม่มีลวดลาย และจะบรรทุกเครื่องปั้นดินเผาใส่รถไปขายตามท้องถนน แต่ในปัจจุบันได้เลิกผลิตเนื่องจากไม่เป็นที่นิยม
ต่อมาทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าไปส่งเสริมให้ชาวบ้านฟื้นฟูอาชีพเครื่องปั้นดินเผาขึ้นมาอีกครั้ง โดยแนะนำให้ชาวบ้านพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำ ให้มีลวดลายและรูปทรงสวยงาม ทันสมัย ปัจจุบันเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ำอีสาน ที่บ้านบัวบึง มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย เช่น เก้าอี้ โคมไฟ กระถางดอกไม้ โมบาย และอ่างน้ำ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรูปทรงสวย ทันสมัย
สิกิตตรี เกิดมงคล , ธงไชย มนตรี ข่าวโฮมทีวี รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น