โฮมทีวี - ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพขอนแก่น โชว์ผลงานเยี่ยม ผสมเทียมโคเนื้อพันธุ์ดีด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสู่ชุมชน สำเร็จสามารถย่นเวลาขยายพันธ์สมบูรณ์เพียง 9 เดือน
นายทศพร ศรีศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 4 กล่าวถึงโครงการนำร่อง มหาสารคามโมเดลกระจายโคเนื้อพันธุ์ดีด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสู่ชุมชน ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการบูรณาการ ระหว่างส่วนราชการของกรมปศุสัตว์ ได้แก่ สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 4 สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กองอาหาร และหน่วยงานกรมปศุสัตว์ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่4
สามารถค้นคว้าและวิจัย ช่วงระยะแรกในการกระจายโคเนื้อพันธุ์บราห์มันของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตโคเนื้อพันธุ์บราห์มันที่ดีที่สุดของกรมปศุสัตว์ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพการย้ายฝากตัวอ่อนโคเนื้อพันธุ์บราห์มันจากแม่โคตัวให้ของกรมปศุสัตว์ ด้วยทีมงานผู้ชำนาญการจากศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน (ต.ซับหวาย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ) ให้กับเกษตรกรบ้านหัวนาคำ ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในช่วงเช้าวันที่ 14-15มกราคม 2553 กระบวนการจะเริ่มทำการล้างเอาตัวอ่อนจากแม่โคตัวให้ดังกล่าว ย้ายไปฝากในแม่โคตัวรับของเกษตรกร อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เกษรตรกร 4 ราย จำนวนแม่โคตัวรับ 11 ตัว คาดว่าอีกประมาณ 9เดือน เกษตรกรจะได้ลูกโคเนื้อพันธุ์บราห์มัน 50% จะต้องใช้เวลาปรับปรุงพันธุ์เป็นพันธุ์แท้ อย่างเร็วที่สุดประมาณ 7ปี อนึ่ง สำหรับตัวอ่อนที่เหลือจากการย้ายฝากสดในวันที่14 มกราคม 2553 ทางสำนักเทคโนโลยีชีวภาพโดยศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพขอนแก่น จะเก็บรักษาไว้ และนำกระจายสู่เกษตรกรในโอกาสต่อไป ข้อมูลจากการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อนที่ผ่านมาคือ แม่โคตัวให้แต่ละตัวจะให้ตัวอ่อนคุณภาพดีเฉลี่ย 5 ตัวอ่อน ต่อการทำ 1 ครั้ง อัตราการยอมรับและตั้งท้องจนคลอดของแม่โคตัวรับ ประมาณ 40%
ปิยนุช ขามคำ ข่าว
ปรัชญา เทพสกุล ภาพ
โหลดฟรี! โปรแกรม Windows Live ครบชุด Windows Live Services
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น